Amazon WorkSpaces คืออะไร?

WorkSpaces คืออะไร

เป็นบริการ Virtual Desktop (เดสก์ท็อปเสมือน) ที่มีการจัดการเต็มรูปแบบที่ให้บริการโดย AWS ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องจัดหา Hardware หรือสร้างโครงสร้างพื้นฐานเดสก์ท็อปเสมือน เพราะสามารถเริ่มใช้งานได้จากเครื่องเดียวเดสก์ท็อปเสมือนสามารถเลือกจาก Windows หรือ OS ของ Linux, สร้าง Hardware ต่างๆ และสร้าง Software ได้ สำหรับ Windows เราสามารถนำ license (= BYOL) ของ OS และ Microsoft Office ที่เรามีอยู่มาใช้งานได้ การเชื่อมต่อไปยังเดสก์ท็อปเสมือน เราจะดำเนินการผ่าน Internet โดยใช้ Client Application จากอุปกรณ์ หรือ Web browser ของเรา

Client Application ที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ต่อไปนี้

  • Windows computer
  • Mac computer
  • Chromebooks
  • iPad
  • Android tablet
  • Fire tablet
  • Zero client device

Web browser ที่รองรับมีดังนี้ (Windows, Mac, Linux)

  • Chrome 53+
  • Firefox 49+

ในขณะที่เขียนบล็อกนี้ WorkSpaces มีให้บริการใน 13 Region ดังต่อไปนี้

  • US East (N. Virginia)
  • US West (Oregon)
  • Africa (Cape Town)
  • Asia Pacific (Mumbai)
  • Asia Pacific (Seoul)
  • Asia Pacific (Singapore)
  • Asia Pacific (Sydney)
  • Asia Pacific (Tokyo)
  • Canada (Central)
  • Europe (Frankfurt)
  • Europe (Ireland)
  • Europe (London)
  • South America (São Paulo)

ค่าบริการ

ราคา WorkSpaces กำหนดโดยวิธีการชำระเงิน, ระบบปฏิบัติการ (OS) ของเดสก์ท็อปเสมือน, การสร้าง Hardware, ตัวเลือก Application

วิธีการชำระเงิน (Billing Options)

สามารถเลือกวิธีการชำระเงินได้ 2 แบบคือ ค่าบริการรายเดือนและค่าบริการรายชั่วโมง

ค่าบริการรายเดือน (Always On) ・・・ สามารถใช้งานได้ไม่จำกัดโดยชำระค่าบริการรายเดือนแบบคงที่
ค่าบริการรายชั่วโมง (Auto Stop) ・・・ ค่าบริการเบื้องต้นรายเดือน + ค่าบริการรายชั่วโมงตามการใช้งาน

ผมจะยกตัวอย่างของจุดตัดโดยขึ้นอยู่กับเวลาการใช้งานระหว่าง “ค่าบริการรายเดือนและค่าบริการรายชั่วโมง” ว่าอันไหนจะถูกกว่ากัน ทั้งสองแบบที่กล่าวมานี้คำนวณจากค่าบริการของ WorkSpaces ในรีเจี้ยนสิงคโปร์ ณ ตอนที่เขียนบทความนี้ โดยคร่าวๆ หากใช้งานมากกว่า 80 ชั่วโมง/เดือน ค่าบริการรายเดือนจะถูกกว่า

Bundleค่าบริการรายเดือนค่าบริการรายชั่วโมงจุดตัด (ถ้าเวลาใช้งานน้อยกว่านั้น “ค่าบริการรายชั่วโมง” จะถูกลง)
Linux Value (1 vCPU, 2 GB memory, 80GB+10GB Root Volume)30 USD10 USD/เดือน + 0.25 USD/ชั่วโมง80 ชั่วโมง/เดือน*
Linux Standard (2 vCPU, 4 GB memory, 80GB+50GB Root Volume)45 USD14 USD/เดือน + 0.38 USD/ชั่วโมง81 ชั่วโมง/เดือน
Windows Value (1 vCPU, 2 GB memory, 80GB+10GB Root Volume)34 USD10 USD/เดือน + 0.30 USD/ชั่วโมง80 ชั่วโมง/เดือน*
Windows Standard (2 vCPU, 4 GB memory, 80GB+50GB Root Volume)49 USD14 USD/เดือน + 0.42 USD/ชั่วโมง83 ชั่วโมง/เดือน

* ค่าบริการรายเดือนและค่าบริการรายชั่วโมง ณ จุดตัดเท่ากัน

ระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปเสมือน

เราสามารถเลือกจาก Windows หรือ Amazon Linux ได้

การสร้าง Hardware

เลือกจากการผสมผสานระหว่าง vCPU, Memory, Root Volume size, User Volume size และ GPU

ตัวเลือก Application

กรณีที่เลือก Windows เป็นระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปเสมือน เราจะสามารถเลือกให้มี Plus applications หรือไม่ก็ได้

Default applications Internet Explorer 11, Firefox, 7-Zip (หลังจาก 2020/4/3 จะไม่รวม 7-Zip อีกต่อไป)
Plus applicationsMicrosoft Office Professional, Trend Micro Worry-Free Business Security Service, Default applications

ตรวจสอบค่าบริการได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
ราคา Amazon WorkSpaces

WorkSpaces จำเป็นต้องมี AWS Directory Service (Directory Service) ดังนั้นค่าบริการ Directory Service จะถูกเรียกเก็บตาม Directory Service ที่เราเลือก
ราคา AWS Directory Service

ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ WorkSpaces จะสามารถใช้พื้นที่จัดเก็บ Amazon WorkDocs (WorkDocs) ได้ 50 GB ต่อ 1 User โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
Amazon WorkDocs pricing

เงื่อนไขการเชื่อมต่อ

กรณีที่จะเชื่อมต่อกับ WorkSpaces ด้วย Client application จะต้องเข้าถึง Internet จากอุปกรณ์ที่เราจะเชื่อมต่อตามด้านล่างนี้ ถ้าต้องการเชื่อมต่อจากเครือข่ายภายในองค์กรที่มีอยู่ อาจมีบางกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อตามนโยบายการใช้งาน ดังนั้นการเตรียมเครือข่ายแยกสำหรับการเชื่อมต่อ WorkSpaces ก็เป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่เราต้องเตรียมสภาพแวดล้อมของแหล่งเชื่อมต่อไว้ด้วย

  • TCP 443 – ใช้สำหรับอัปเดต ลงทะเบียน และรับรองความถูกต้องของ Client application
    • รองรับการใช้งาน Proxy server
  • UDP/TCP 4172 – ใช้สำหรับการสตรีมเดสก์ท็อป WorkSpaces และและการสตรีม Health check
    • ยังไม่รองรับการใช้งาน Proxy server

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขการเชื่อมต่อได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
IP address and port requirements for WorkSpaces


กรณีที่เข้าถึงด้วยเว็บเบราว์เซอร์ จะต้องเข้าถึง Internet จากอุปกรณ์ที่เราจะเชื่อมต่อตามด้านล่างนี้ หากเข้าถึง Internet โดยผ่าน Web proxy จะไม่มีการรองรับ Web proxy ที่ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ นอกจากนี้ ในขณะที่เขียนบทความนี้ มีเพียง Chrome เท่านั้นที่รองรับการเชื่อมต่อผ่าน Web proxy ส่วน Firefox นั้นไม่รองรับ

  • UDP 53 – ใช้สำหรับเข้าถึงไปยัง DNS Server
  • UDP/TCP 80 – ใช้สำหรับเชื่อมต่อเริ่มต้นไปยัง http://clients.amazonworkspaces.com จากนั้นเปลี่ยนเป็น HTTPS
  • UDP/TCP 443 – ใช้สำหรับลงทะเบียนและรับรองความถูกต้อง

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงด้วยเว็บเบราว์เซอร์ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
WorkSpaces Web Access

ส่วนประกอบ WorkSpaces

ในขณะที่สร้างสภาพแวดล้อม WorkSpaces เงื่อนไขต่อไปนี้จะแสดงขึ้นมา

  • Directory
  • Image
  • Bundle

Directory

WorkSpaces ต้องมี Directory เพื่อยืนยันตัวตน user

สามารถเลือกจาก Directory Service ได้ตามด้านล่างนี้

  • Simple Active Directory (Simple AD) – Directory Service ขั้นต่ำที่จำเป็นสำหรับใช้ WorkSpaces และกรณีที่ใช้เฉพาะ Windows ในระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปเสมือน
  • Directory Service for Microsoft Active Directory (Microsoft AD) – กรณีที่มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ฟังก์ชันที่ Simple AD ไม่สามารถรองรับได้ เช่น การเชื่อถือความสัมพันธ์กับ Active Directory ที่มีอยู่และการรองรับความถูกต้องแบบหลายองค์ประกอบ เป็นต้น
  • Active Directory Connector (AD Connector) – กรณีที่ตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้ตัวควบคุมโดเมน Active Directory ที่สร้างในสภาพแวดล้อมภายในองค์กรหรือสร้างบน Amazon EC2

กรณีที่ใช้ Simple AD หรือ AD Connector ใน WorkSpaces จะไม่ถูกเรียกเก็บค่าบริการสำหรับการใช้ Directory Service ภายไต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจะเตรียม Directory Service ใหม่เพื่อใช้สำหรับ WorkSpaces การเลือกใช้ Microsoft AD นั้นเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัย เว้นแต่เราจะสามาถตัดสินใจได้ว่า Simple AD นั้นเพียงพอต่อการใช้งาน โดยพิจารณาจากข้อจำกัดและค่าธรรมเนียมการใช้งาน สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งาน Simple AD และ AD Connector ดูได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้
Other directory types pricing

Image

Image ที่มีการติดตั้ง OS และ Application ไว้แล้ว

ทำการติดตั้ง Application และเปลี่ยนการตั้งค่าใน WorkSpace ที่สร้างจาก Bundle ที่มีอยู่ ก็จะสามารถสร้าง Custom image ได้ตามที่เราดำเนินการ

ในกรณีของ Windows นั้น Image ที่สร้างขึ้นจะเป็น Sysprep (≒การลบข้อมูลเฉพาะของ Windows และทำให้เป็นแบบทั่วไป) ดังนั้น Application ที่ยังไม่รองรับ Sysprep จึงไม่สามารถรวมไว้ใน Image ได้

Bundle

คือการกำหนดให้เป็นการรวมกันของ Image + Hardware (CPU/Storage/GPU) กรณีที่จะสร้าง WorkSpace แต่ละตัว เราสามารถเลือก Bundle ที่มีอยู่ใน WorkSpace หรือจะเลือก Custom bundle ที่สร้างจาก Custom image ที่เราสร้างขึ้นเองได้

หลังจากทำการอัปเดตและเพิ่ม Application แล้ว เราสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการสร้าง Custom image ใหม่ และอัปเดต Bundle (≒การแทนที่ไปยัง Custom image ใหม่) + สร้าง WorkSpace แต่ละอันขึ้นมาใหม่

ขั้นตอนการสร้าง WorkSpaces

เรามาเริ่มต้นใช้งาน WorkSpaces กันครับ ครั้งนี้ผมจะเริ่มโดยการสร้าง WorkSpaces ในแบบง่ายๆตามแผนภาพด้านล่างนี้
ก่อนอื่นให้สร้าง VPC, Internet gateways, Subnet, Route tables เตรียมไว้ล่วงหน้า